วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนอนุบาลราชบุรี



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติความเป็นมาของ รร.อนุบาลราชบุรี




โรงเรียนอนุบาลราชบุรี
โรงเรียนอนุบาลราชบุรี (อังกฤษAnuban Ratchaburi School) ตั้งอยู่เลขที่ 411 ถนนยุติธรรม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต1 เปิดสอนตั้งแต่ประดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแผนก English Program

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

ปัจจุบันโรงเรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนนักเรียน ดังนี้
  • โรงเรียนไม่มีเขตบริการ การรับนักเรียนเข้าเรียนใช้วิธีการจับฉลากและเปิดโอกาสให้นักเรียนด้อยโอกาสรวมทั้งเด็กพิเศษได้เข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ
  • รับเด็กเข้าเรียนโดยไม่มีเขตบริการ ใช้วิธีจับฉลากในชั้นอนุบาลปีที่1 จากนักเรียนที่มีอายุครบ 4 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 5 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 16 พฤษภาคม ปีการศึกษานั้น ๆ
  • นักเรียนที่มาสมัครเรียนมีสิทธิ์ในการจับฉลากเข้าเรียนทุกคน
  • เปิดรับนักเรียนแผนก English Program ในชั้นอนุบาลปีที่1 จากนักเรียนที่มีอายุครบ 4 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 5 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 16 พฤษภาคม ปีการศึกษานั้น ๆ โดยการสอบคัดเลือก

ประวัติ[แก้]

  • พ.ศ. 2505 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้ 300,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ 008 จำนวน 1 หลัง มี 8ห้องเรียนและ 1 ห้องพักครู ในที่ดินของลูกเสือจังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา เงินงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ โรงเรียนจึงขอใช้เงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนสมทบอีก 100,000 บาท
  • พ.ศ. 2506 ได้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ในที่สร้างใหม่ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2506 โดยให้นางสาวอารี โพธิ์วิหก รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ตั้งแต่วันที่ 1มกราค2506 และได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียนตามลำดับจนเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529
  • พ.ศ. 2512 กรมสามัญศึกษา จัดสรรเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียนอนุบาล แบบ 002 เพิ่มอีกจำนวน 4 ห้องเรียน มีห้องพักครู 1 ห้อง เป็นเงิน 200,000 บาท
  • พ.ศ. 2514 กรมสามัญศึกษาจัดสรรเงินงบประมาณ สำหรับต่อเติมอาคารเรียน แบบ 002 เพิ่มอีก 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 100,000 บาท และโรงเรียนได้ใช้เงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนสบทบสร้างเพิ่มอีก 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 100,000 บาท
  • พ.ศ. 2519 กรมสามัญศึกษา จัดสรรเงินงบประมาณสร้างตึกอาคารเรียนแบบพิเศษ 2 ชั้น จำนวน 1 หลังมี 10 ห้องเรียน พร้อมครุภัณฑ์ เป็นเงิน 1,520,000 บาท
  • พ.ศ. 2525 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จัดสรรเงินงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ 312 กว้าง 7 เมตร ยาว 17.50 เมตร สูง 7 เมตร ให้ 1 หลังและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี (ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ) ได้ให้เงินงบประมาณโครงการพัฒนาจังหวัดราชบุรี ประจำปี 2525สบทบอีก 100,000 บาท จึงเพิ่มความยาวอีก 10.50 เมตร เป็น 28 เมตร และจัดทำเป็นห้องเก็บของ 1 ห้อง กว้าง 7 เมตร ยาว 4 เมตร ปีงบประมาณ 2525 ได้รับเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียน 017 ก เป็นอาคารเรียนตึก 2 ชั้น จำนวน 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 1,160,000 บาท และสร้างส้วมแบบ 401 จำนวน 1 หลัง มี 8 ที่นั่ง เป็นเงิน 61,600 บาท
  • พ.ศ. 2526 ได้รับเงินงบประมาณสร้างส้วม แบบ 602 จำนวน 1 หลัง มี 10ที่นั่ง เป็นเงิน 169,500 บาท
  • พ.ศ. 2527 ได้รับเงินงบประมาณโครงการพัฒนาจังหวัดราชบุรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี (ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ) สร้างสนามวอลเลย์บอล เป็นเงิน 80,000 บาท
  • พ.ศ. 2528 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้น จำนวน 1 หลังมี 12 ห้องเรียน แบบ สปช. 2/28 เป็นเงิน 2,770,000 บาท
  • พ.ศ. 2530 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง มี 12 ห้องเรียน แบบ สปช. 2/28 เป็นเงิน 2,520.000 บาท และอาคารหลังนี้ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ขอใช้เป็นสำนักงาน
  • พ.ศ. 2531 ด้รับเงินงบประมาณโครงการพัฒนาจังหวัดราชบุรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี (ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ) เพื่อสร้างห้องสมุดโรงเรียน เป็นเงิน 80,000 บาท และสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ได้สบทบเพิ่มเติมและใช้วัสดุจากการรื้อย้ายอาคารเรียน แบบ 008 บางส่วนสบทบในการก่อสร้างห้องสมุด
  • พ.ศ. 2532 ได้รับเงินงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 206/26 จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2534 ได้รับเงินงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 2/28 จำนวน 1 หลัง 12 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2538 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 2/28 เป็นตึก 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง มี 15 ห้องเรียน เป็นเงิน 5,400,000 บาท
  • พ.ศ. 2540 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้น แบบ สปช. 2/28 จำนวน 1 หลัง มี 18 ห้องเรียน เป็นเงิน 6,224,000 บาท
    • นายแฉล้ม สินสมุทร นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี และคณะกรรมการจัดสร้างอาคารโรงอาหาร 2 ชั้น 1 หลัง เป็นเงิน 3,000,000 บาท
    • โรงเรียนสร้างห้องน้ำ - ห้องส้วม สำหรับนักเรียนอนุบาล 1 หลัง 8 ที่นั่ง โรงเรียนจัดหาเงินก่อสร้าง จำนวน 130,000 บาท
  • พ.ศ. 2541 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างส้วมแบบ สปช. 001 มี 4 ที่นั่ง ราคาหลังละ 110,000 บาท จำนวน 2 หลัง
  • พ.ศ. 2542 สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี สนับสนุนสร้างศูนย์ไมโครคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต 1 ห้อง 1,000,000 บาท สร้างที่ล้างมือแปรงฟันข้างอาคารอเนกประสงค์ 72,000 บาท ติดตั้งระบบเสียงภายในโรงเรียน 70,000 บาท สร้างห้องเรียนธรรมชาติ 68,000 บาท
  • พ.ศ. 2543 สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี นับสนุนปรับปรุงห้องสมุดอัตโนมัติ 200,000 บาท สร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ระดับอนุบาล 1 ห้อง
  • พ.ศ. 2545 สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ต่อเติมอาคารเรียน 3 ชั้น ห้องแสนสนุก 1 หลัง เป็นเงิน 1,300,000 บาท โรงเรียนสร้างทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารเรียน อาคาร 4 และอาคาร 7 จำนวน 1 ที่ อาคาร 6 และอาคาร 7 จำนวน 1 ที่ เป็นเงิน 120,000 บาท
  • พ.ศ. 2546 นางศรีสุดา พุทธานนท์ นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี บริจาคเงิน จำนวน 400,000 บาท สร้างสนามคอนกรีด
  • พ.ศ. 2547 ได้จัดสร้างอาคารดอกบัวมินิมาร์ท
  • พ.ศ. 2548 สร้างสระเล่นน้ำอนุบาล อ่างล้างมือ ปรับปรุงห้องส้วม เททางเท้า ปรับปรุงสนามเด็กอนุบาล
  • พ.ศ. 2550 สร้างโครงหลังคาเหล็ก Metal Sheet คลุมสนามเขียวเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน แบบเขียนเอง โดยใช้เงินรายได้สถานศึกษา จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 2,540,000 บาท
  • พ.ศ. 2551 ได้จัดสร้างอาคารเรียน แบบเขียนเอง 3 ชั้น จำนวน 6 ห้องเรียน 2 ห้องพักครู 1 ห้องน้ำ ราคา 3,144,000 บาท โดยใช้งบประมาณเงินรายได้สถานศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

โนโรไวรัส

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อนุบาลราชบุรี เด็กท้องเสีย"

วันนี้ (6 ก.ย.) นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานประชุมร่วมกับนายไพรัช มโนสารโสภณ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการพิเศษ (ด้านการส่งเสริมพัฒนา) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี นายรณภพ เวียงสิมมา นายอำเภอเมือง นางปราณี ทัยคุปต์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลราชบุรี พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งแก้ไขปัญหากรณีนักเรียนโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรงต้องทยอยนำตัวส่งโรงพยาบาลทั้งของรัฐและโรงพยาบาลเอกชน

โดยมีการสงสัยโรคอาหารเป็นพิษรวมแล้ว จำนวน 517 ราย หลังจากเมื่อวันที่ 3 ก.ย. ทางโรงพยาบาลราชบุรีได้รับแจ้งจากไลน์กลุ่มผู้ปกครอง ว่า มีผู้ป่วยสงสัยโรคอาหารเป็นพิษ เป็นเด็กอนุบาล จำนวน 2 ห้อง ห้องละอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป จึงได้แจ้งทีมสอบสวนควบคุมโรค โรงพยาบาลราชบุรีดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคในโรงเรียนดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา

เบื้องต้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการอาเจียน และปวดท้องเป็นหลัก บางส่วนมีไข้และถ่ายเหลวในเวลาต่อมา ผู้ป่วยมีทั้งที่ดูอาการที่บ้าน รักษาคลินิก และไปที่โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน บางรายได้รับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน โดยที่โรงพยาบาลราชบุรี มีผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาลทั้งหมด 12 ราย แพทย์ให้กลับบ้านแล้ว 5 ราย ขณะนี้มีผู้ป่วยเหลือทั้งหมด 7 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 5 ก.ย.เวลา 18.00 น.

นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า ทราบว่ามีการปรากฏของการแพร่ระบาดโรคระบบทางเดินอาหารจากเชื้อโนโรไวรัส จากข้อมูลการป่วยจนถึงวันที่ 5 ก.ย. มีนักเรียนที่ป่วยโรคดังกล่าว ซึ่งเป็นการสันนิษฐานอย่างไม่เป็นทางการ ว่า มาจากเชื้อโนโรไวรัส จำนวนประมาณ 517 คน แนวโน้มเด็กที่ป่วยเริ่มลดลงแล้ว ในวันนี้จะรอดูอีกครั้งหนึ่ง เพราะว่าทางโรงเรียนพบความผิดปกติตั้งแต่เวลาประมาณ 3 ทุ่ม ของวันที่ 3 ก.ย. พอเช้าวันที่ 4 ก.ย. ทีมสืบสวนโรคก็ได้เข้ามาตรวจสอบ

พร้อมให้คำแนะนำแก่โรงเรียน รวมทั้งมีการทำความสะอาด และได้สั่งหยุดนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ซึ่งพบการแพร่ระบาดอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเช้าวันนี้ได้ประสานการปฏิบัติร่วมกันหลายหน่วยงาน พร้อมจะระดมจิตอาสารณรงค์ทำบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ครั้งใหญ่ที่โรงเรียนอนุบาลราชบุรี ตลอดทั้งบ่ายวันนี้ ถ้ายังไม่ครบถ้วนอีก ในวันเสาร์ก็จะดำเนินการกันต่อ

นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้หน่วยงานการประปาส่วนภูมิภาค เทศบาลเมืองราชบุรี ประปาหมู่บ้าน พิจารณาเพิ่มเติมคลอรีนในน้ำประปาให้เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในสัดส่วนที่ทางสาธารณสุขแนะนำ รวมทั้งจะประสานไปยังสถานศึกษา สถานประกอบการต่างๆ หน่วยราชการที่มีการติดต่อของประชาชนจำนวนมากให้ทำการบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ทำความสะอาด เนื่องจากเชื้อโรคตัวนี้ค่อนข้างจะตายยาก แพร่ระบาดได้ง่าย ด้านความรุนแรงนั้นทางคุณหมอบอกไม่รุนแรงมาก ยกเว้นว่าเป็นเด็กน้อยผู้ที่มีร่างกายไม่แข็งแรง ถ้าสูญเสียน้ำมาก จะไม่สามารถให้น้ำหรือสารเหลวทดแทนแล้วก็อาจจะมีอาการชักได้

ด้าน น.ส.กุลวลี นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้ประสานไปยังหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นได้รายงานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งให้ความเป็นห่วง และรู้สึกตกใจว่าทำไมถึงมาแพร่เชื้อระบาดในช่วงเหตุการณ์แบบนี้

ทางรัฐมนตรีได้แจ้งให้ช่วยกันดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมร่วมกันหามาตรการแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนด้วย ประกอบกับทางสถานศึกษาได้จัดกิจกรรมกีฬาสีของโรงเรียน มีเด็กจำนวนมาก ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่า เกิดจากการแพร่ระบาดจากการที่น้องๆ ผลัดกินน้ำจากคูลเลอร์น้ำรวม หรือป้อนกินขนมให้กันเอง

สำหรับโรงเรียนดังกล่าวมีนักเรียนระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมจำนวนกว่า 3,000 คน ในวันนี้ได้มีการจัดกิจกรรมกีฬาสี มีเด็กนักเรียนจำนวนมากแต่งกายชุดสวยงามหลากสีเดินขบวนร่วมกิจกรรมกันตั้งแต่ช่วงเช้า แต่ส่วนหนึ่งยังคงนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลราชบุรี และโรงพยาบาลกรุงเทพเมืองราช

ล่าสุด บ่ายวันนี้ นายไกรเสริม โตทับเที่ยง เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย น.ส.กุลวลี นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ ได้เดินทางมาที่ห้องศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียนโรงพยาบาลราชบุรี เพื่อสอบถามความคืบหน้าอาการป่วยของเด็กนักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลราชบุรี กว่า 500 ราย ติดเชื้อระบบทางเดินอาหารจากเชื้อโนโรไวรัส ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชบุรี และโรงพยาบาลเอกชนอีก 2 แห่ง เป็นจำนวนมาก

โดยมีนายแพทย์พิเชียร วุฒิสถิรภิญโญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาให้ข้อมูล พร้อมแนวทางในการแก้ไขปัญหา และมาตรการในการป้องกัน กรณีพบเชื้อโนโรไวรัส ดังกล่าว จากนั้นทางคณะได้ไปเยี่ยมเด็กนักเรียนที่นอนพักรักษาตัวอยู่ที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 3 ชั้น 2 ตึกเจ้าฟ้ามหาจักรี มีนักเรียนบางส่วนที่ยังคงนอนป่วยรักษาตัว สีหน้ายังอยู่ในลักษณะซีดเซียว แพทย์ยังคงให้น้ำเกลือเพื่อรักษาตัวอยู่ โดยมีผู้ปกครองคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม ทางเลขารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ส.ส.ราชบุรี ได้นำสิ่งของมาเยี่ยมให้กำลังใจแก่เด็กนักเรียน พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาทำความสะอาดโรงเรียน เพื่อป้องกันโรคแพร่ระบาด และนำมาตรการต่างๆ ช่วยกันป้องกันควบคุมโรคดังกล่าวโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้ ยอดจำนวนเด็กนักเรียนที่ล้มป่วยมีจำนวน 517 รายนั้น มีบางส่วนยังคงนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลราชบุรี และโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ อยู่อีกกว่า 30 ราย ซึ่งแพทย์ยังคงให้น้ำเกลือในการรักษาอยู่ และเริ่มมีอาการดีขึ้นตามลำดับแล้ว

ลิเวอร์พูล 1-1 แมนเชสเตอร์ ซิตี